วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

SOLDIER!!!

....SOLDIER!!!....

                    ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศ และผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่น ๆ ในยามสงคราม

                  ประเด็นศึกษาข้อมูลอาชีพที่สนใจ ดังต่อไปนี้

1.ลักษณะการทำงาน

                  แต่ถ้าจะพูดถึงหน้าที่ของทหารในแง่ของกฎกระทรวงกลาโหมจะมีหน้าที่หลักที่ขอยกตัวอย่างมาเพียง 3 ข้อ ที่สำคัญอันถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่ทหารทุกนายต้องพึงปฎิบัติ ได้แก่
            1.) พิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักรปราบปรามการกบฏและการจราจลโดยจัดให้มีและใช้กำลังทหารตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือตามที่กฎหมายกำหนด
            2.) พิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดจนสนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์
            3.)ปฏิบัติการอื่นที่เป็นปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามเพื่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือปฏิบัติการอื่นใดทั้งนี้ ตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามมติคณะรัฐมนตรี

2.คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ

                   ทหารจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และระเบียบวินัยที่ต้องเพรียบพร้อมเสมอ หากใครอยากเป็นทหารจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
  1.) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
     2.) มีความอดทน
        3.) มีทักษะทางด้านกีฬา เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง
           4.) มีความซื่อสัตย์สุจริต
              5.) รักความยุติธรรม
                 6.) มีความเสียสละทั้งแรงกายแรงใจ
                    7.) มีความกล้าหาญ
                       8.) มีระเอียดความรอบคอบ
                          9.) มีระเบียบวินัย
                            10.) มีบุคลิกภาพและมีความสูงตามที่กำหนดไว้
                                11.) รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                                     12.) อื่น ๆ

3.แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ

จบม.3 ---> สอบเข้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในส่วนของภาคปกติ(ถ้าสมัครภาคสมทบจะไม่ติดยศให้) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวน 250 - 300 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาช่างที่เลือกศึกษา และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทยส่วนหนึ่ง คือ หน่วยทหารพัฒนา (ยังมีโควต้าของกองทัพบก และกองทัพเรืออีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ) ---> สอบบรรจุในตำแหน่ง พลขับรถ(เฉพาะชาย) เสมียน ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี จบม.6 ---> สอบเข้าโรงเรียนแผนที่ทหาร โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.20 มีอายุระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวน 40 - 45 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับวุฒิปวส.สาขาช่างสำรวจ และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทยส่วนหนึ่ง คือ กรมแผนที่ทหาร และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ยังมีโควต้าของกองทัพอากาศ 1 นาย ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ) ** น่ารู้ ** นัก เรียนนายสิบแผนที่ ที่สอบได้ที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป และมีคะแนนความประพฤติดี จะได้โควต้าเข้าเรียนที่ร.ร.เตรียมทหาร และร.ร.นายร้อยจปร.---> สอบเข้าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต มีอายุระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวน 3 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทย---> สอบบรรจุในตำแหน่ง พลขับรถ(เฉพาะชาย) เสมียน ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี จบปวช. ---> สอบเข้าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ ปวช.สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีอายุระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวน 3 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทย---> สอบบรรจุชั้นประทวน (สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงินการธนาคาร การตลาด การขาย พณิชยการและบริหารธุรกิจทุกสาขา คอมพิวเตอร์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี จบปวส. ---> สอบบรรจุชั้นประทวน (สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงินการธนาคาร การตลาด การขาย พณิชยการและบริหารธุรกิจทุกสาขา คอมพิวเตอร์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี โดยกรมกำลังพลทหาร จบป.ตรี ---> สอบบรรจุชั้นสัญญาบัตร (ร้อยตรี เรือตร เรืออากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-35 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงิน การธนาคาร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี โดยกรมกำลังพลทหาร

4.ความก้าวหน้าในงานอาชีพ รายได้ และสวัสดิการ

             รายได้ และสวัสดิการของอาชีพทหารนี้จะขึ้นอยู่กับยศตำแหน่งที่ตนเองได้รับ หากประพฤติดี อยู่ในระเบียบวินัย ก็จะเลื่อนยศขึ้นไปอีก รวมถึงเงินเดือนอีกด้วย อาทิเช่น น.9 หรือ ส.9 = เงินเดือน พลเอก , พลเรือเอก , พลอากาศเอก , พลตำรวจเอก ซึ่งได้รับเงินเดือนในอัตราจอมพล เช่น ผบ.เหล่าทัพ จะอยู่ประมาณ 50,000 - 80,000 บาท หรือ น.5 หรือ ส.5 = เงินเดือน พันเอก(พิเศษ) , นาวาเอก(พิเศษ) , นาวาอากาศเอก(พิเศษ) , พันตำรวจเอก(พิเศษ) จะอยู่ประมาณ 24,000 - 70,000 บาท
**ทหารเงินเดือนทหารสัญญาบัตรใช้คำย่อว่า น. นะ ของตำรวจสัญญาบัตรจะเป็น ส.

5.ปัญหา หรืออุปสรรค์ที่อาจพบในการประกอบอาชีพ

     สามารถแบ่งที่มาของปัญหาได้เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. ตัวทหารเอง: ทหารที่ขาดการปลูกฝังอุดมการณ์ที่ดีพอ ทำให้ขาดจิตสำนึกในการเป็นทหาร คล้อยตามต่อสิ่งแวดล้อม และในที่สุดก็จะเดินออกนอกเส้นทางทหารอาชีพ
2. สภาพแวดล้อมทางสังคม: สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการถาโถมของกระแสทางสังคมต่าง ๆ ประกอบกับอิทธิพลตามแนวความคิดสังคมอุตสาหกรรมที่เน้นคุณค่าที่ปริมาณ และเงินตรา ทำให้ทหารที่ขาดความอดทด และซื่อสัตย์ เดินทางออกนอกเส้นทางทหารอาชีพ
3. การเข้ามามีบทบาทของนักการเมืองในกองทัพ: เราต้องยอมรับว่าปัจจุบันกองทัพได้ถูกคุกคามจากอิทธิพลของนักการเมือง การพยายามเข้ามามีบทบาทของนักการเมืองในกองทัพส่งผลให้ทหารเกิดความแตกแยก สับสนทางอุดมการณในการเป็นทหาร และในที่สุดก็เดินออกนอกเส้นทางของการเป็นทหารอาชีพ
        การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของผู้นำกองทัพที่จะนำกองทัพพ้นจากวิกฤตการณ์เท่านั้น ทหารทุกนายจะต้องช่วยกัน ผู้นำกองทัพที่เข้มแข็งที่แบ่งขอบเขตที่ชัดเจนระหว่าง คำว่าการเมือง ธุรกิจ และประโยชน์ส่วนตัว กับความเป็นทหาร กระทำการใด ๆ บนความถูกต้อง และเด็ดขาดย่อมจะนำมาซึ่ง ขวัญ และกำลังใจของผู้ใต้บังคับบัญชา การเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องย่อมจะนำทหารกลับเข้าสู่เส้นทางเดินของทหารอาชีพ ทหารทุกนายเองก็มีหน้าที่จะดำรงไว้ซึ่งจิตสำนึกในการเป็นทหาร ไม่อ่อนแอต่อสิ่งยั่วยุ อดทนอดกลั้น ก็จะนำมาซึ่งความเป็นทหารอาชีพ อันเป็นจุดสูงสุดในการเป็นทหาร

6.แนวโน้มความต้องการอาชีพในอนาคต

          แนวโน้มว่าในอนาคตนั้นอีกประมาณ 3 - 7 ปี ข้างหน้านี้ อาชีพทหารอาจจะคาดเดาได้ว่าอาชีพนี้จะมีแนวโน้มความต้องการที่ต่ำลง เนื่องจากว่าเด็กไทยนั้นมีความใฝ่ฝันที่ว่าจะต้องได้รับเงินเดือนที่เยอะ และสามารถเลี้ยงดูครอบครัวตัวเองได้ และวัยรุ่นชายไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมการเป็นทหาร หรือ เรียน รด. ซักเท่าไหร่ ผลกระทบก็อาจจะมีบ้างในเรื่องของ การเมือง ธุรกิจที่เข้ามาในอาชีพนี้

7.คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม

          หน้าที่หลักของทหารคือการปกป้องบ้านเมืองให้รอดพ้นจากการรุกรานของข้าศึก แต่ในยามที่บ้านเมืองสงบทหารก็ยังคงทำหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความลำบากเดือดร้อน อย่างที่เราพบเห็นกันอยู่เสมอ เช่น เมื่อปี 2554 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศ น้ำท่วมสูงเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทยไล่จากภาคเหนือลงมาจนถึงกรุงเทพมหานครประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส บางคนถึงกับไร้ที่อยู่อาศัย อาหารการกินขาดแคลน ซึ่งในตอนนั้นทหารเป็นกำลังหลักที่สำคัญที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชนไม่ว่าจะขับรถรับส่ง ขับเรือ หรือนำอากหารเข้าไปแจกจ่ายยังประชาชนที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ เรียกได้ว่าทหารเป็นทุกอย่างของประชาชนอย่างแท้จริง

7.อ้างอิง

https://sites.google.com/site/aayajai999/kar-xxkbaeb-kar-kheiyn-phang-ngan-flowchart
https://pantip.com/topic/33399518
https://naenaew.blogspot.com/2011/03/blog-post_5454.html
http://arty16.com/main/info/impress.php
https://www.brandbuffet.in.th/2018/01/adecco-thailand-childrens-dream-career-survey-2018/
https://pantip.com/topic/33500254
http://www.wikibuster.org/หน้าที่ของทหารอย่างสัง/

Member

ด.ช.คชา สวัสดิพิศาล ชั้น ม.2/7 เลขที่ 1🤣🤣🤣......
ด.ช.จิรฑภูมิ ดอนคำไพร ชั้น ม.2/7 เลขที่ 2😴😴😴......
ด.ช.นวพรรษ ศรีทองคำ ชั้น ม.2/7 เลขที่ 10😎😎😎......
ด.ช.ศรอัศษ์ สมสุข ชั้น ม.2/7 เลขที่ 15😜😜😜......

อิฮิๆ ปุ๊งๆปิ๊งๆ ◡‿◡❀)◡‿◡❀)◡‿◡❀)
_░▒███████
░██▓▒░░▒▓██
██▓▒░__░▒▓██___██████
██▓▒░____░▓███▓__░▒▓██
██▓▒░___░▓██▓_____░▒▓██
██▓▒░_______________░▒▓██
_██▓▒░______________░▒▓██
__██▓▒░____________░▒▓██
___██▓▒░__________░▒▓██
____██▓▒░________░▒▓██
_____██▓▒░_____░▒▓██
______██▓▒░__░▒▓██
_______█▓▒░░▒▓██
_________░▒▓██
_______░▒▓██
_____░▒▓██

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

ิอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทยอ่ะคับ😝😝😝

อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย

😀 😁 😂 🤣😀 😁 😂 🤣

ที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทย

                อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีผลต่อลักษณะการดำเนินชีวิตของไทยและผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายด้าน เช่น

                1) ด้านศาสนา ผู้คนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเอาศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการสร้างงานศิลปะที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มากมาย เช่น ปราสาทนครวัดนครธมในกัมพูชา เจดีย์ชเวดากองในเมียนมาร์บุโรพุทโธในอินโดนีเชีย สำหรับในดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย



               2) ด้านการเมืองการปกครอง รับความเชื่อเรื่องสมมติเทพและกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียมาเป็นแม่แบบของกฎหมายในหลายประเทศ เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา ไทย
            ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก การรับศาสนาพราหมณ์ทำให้มีความเชื่อเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพตามแนวความเชื่อของอินเดีย ต่อมาได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาผสมผสานเพื่อใช้ในการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงเป็นธรรมราชาในเวลาต่อมา



                3) ด้านอักษรศาสตร์ รับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั้งไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศเหล่านี้ รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย เมียนมาร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก



               4) ด้านวิถีชีวิต คนไทยและคนที่อยู่ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วนได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายและวัฒนธรรมการกินอาหารจากอารยธรรมอินเดีย เช่น รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสม ใส่เสื้อผ้าแบบชาวอินเดีย เป็นต้น




                5) ด้านกฎหมาย ได้รับรากฐานกฎหมายจากอินเดีย คือ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งกลายเป็นหลักของกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา ไทย



                6) ด้านศิลปะวิทยาการ รับรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ลังกา เช่น เจดีย์ทรงลังกา พระพุทธรูป


พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา

MEMBER

1. ด.ช.คชา สวัสดิพิศาล ม.2/7 เลขที่ 1  🥋🥋🥋......
2. ด.ช.จิรฑภูมิ ดอนคำไพร ม.2/7 เลขที่ 2  🍭 🍬 🍫......
3. ด.ช.นวพรรษ ศรีทองคำ ม.2/7 เลขที่ 10 🏀🏀🏀......
4. ด.ช.ศรอัศษ์ สมสุข ม.2/7 เลขที่ 15  🎬🎬🎬......

CREDIT

https://sites.google.com/site/uunntelarning/unit502-2?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1

อิฮิๆ ปุ๊งๆปิ๊งๆ ◡‿◡❀)◡‿◡❀)◡‿◡❀)